หลักสูตรบ้านน้ำเค็ม วางแผน ป้องกัน แก้ไข ภัยพิบัติด้วยชุมชน

ภาพรวมหลักสูตร

ภัยพิบัติส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงกับคน ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ และความช่วยเหลือจากภาครัฐอาจจะล่าช้าและไม่ตอบโจทย์ความต้องการชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดภัยพิบัติ เป็นสิ่งที่ต้องปรับให้เข้ากับแต่ละชุมชนไม่ใช่แผนแม่บทที่สามารถใช้ได้กับทุกที่ ดังนั้นการที่ชุมชนสามารถวิเคราะห์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชนของตนเองได้ มีการวางแผนและสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติจะเป็นการป้องกันและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งยังสามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติได้อย่างรวมเร็ว การได้เรียนรู้จากบทเรียนจริงที่เกิดเหตุขึ้นจริงในชุมชนซึ่งได้พัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบระดับโลกในการจัดการภัยพิบัติด้วยชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน จะสามารถทำให้ได้มองเห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและแนวทางในการประยุกต์ในชุมชนอื่นๆ ได้ต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้เข้าใจความสูญเสียจากสึนามิที่นำไปสู่กระบวนการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
  2. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้เข้าใจหลักการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติจากองค์กรนานาชาติกับบริบทพื้นที่บ้านน้ำเค็ม
  3. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้เข้าใจกระบวนการวางแผนรับมือภัยพิบัติรูปแบบต่างๆอย่างมีส่วนรวม
  4. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้รับมือภัยพิบัติในชุมชนของตนเอง

เนื้อหาการเรียนรู้

เรื่องเนื้อหาเป้าหมาย
ความสูญเสียจากสึนามิที่นำไปสู่กระบวนการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนสึนามิที่บ้านน้ำเค็ม: คลื่นที่ทำลายและสร้างสรรค์
  • ประวัติความเป็นมาของบ้านน้ำเค็ม
  • สิ่งที่เกิดขึ้นจากสึนามิ
  • สภาพทั่วไปในปัจจุบัน
  • เข้าใจข้อมูลทั่วไปของบ้านน้ำเค็ม สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดสึนามิ และสภาพในปัจจุบัน
 บทเรียนจากสึนามิ: พิบัติภัยที่ไม่รู้จัก
  • อนุสรณ์สถานสึนามิ: กำแพงทรงจำหลังเกลียวคลื่น
  • การมาถึงของคลื่นยักษ์ในวันฟ้าใส
  • ความสูญเสียและความสับสน
  • ศูนย์พักพิงชั่วคราว: การจัดการและการวางระบบ
  • กำเนิดศูนย์พักพิง: เอาส้วมมารวมคน
  • การจัดระบบศูนย์พักพิง: กติกาการอยู่ร่วมกัน
  • สภากาแฟชุมชนสายสัมพันธ์: ปรับทุกข์ เยียวยา มองไปข้างหน้า
  • เข้าใจความสูญเสียที่เกิดขึ้น และกระบวนการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
หลักการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติจากองค์กรนานาชาติกับบริบทพื้นที่บ้านน้ำเค็มการบูรณาการความรู้การจัดการภัยพิบัติ
  • การเข้ามาขององค์กรนานาชาติในการให้ความช่วยเหลือช่วงภัยพิบัติ
  • ถอดบทเรียนความรู้ที่ได้รับและการใช้กับบริบทจริงในพื้นที่
  • การพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการจัดการภัยพิบัติระดับโลก
  • เข้าใจหลักการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติจากองค์กรนานาชาติกับบริบทพื้นที่บ้านน้ำเค็ม
กระบวนการวางแผนรับมือภัยพิบัติรูปแบบต่างๆอย่างมีส่วนรวมการออกแบบแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติและความปลอดภัยชุมชน
  • แผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ : จาก การเชื่อมโยงกองทุนอย่างเป็นระบบ
  • อาสาสมัคร : ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม
  • เข้าใจกระบวนการวางแผนรับมือภัยพิบัติรูปแบบต่างๆอย่างมีส่วนรวม
 
  • ตัวอย่างผลลัพธ์: แผนการจัดการภัยพิบัติของบ้านน้ำเค็ม: ตัวอย่างจากชาวบ้านน้ำเค็มสู่ทุกชีวิตบนโลก
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการจัดการภัยพิบัติของบ้านน้ำเค็ม
 
  • ตัวอย่างผลลัพธ์: การให้การช่วยเหลือในชุมชนต่างๆ: จากตัวเรา สู่ชุมชน จนถึงโลก
  • เข้าใจความสำคัญของการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามเกิดภัยพิบัติ
การประยุกต์ใช้ในการรับมือภัยพิบัติในชุมชนถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
  • บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ หลักการสำคัญ
  • ความรู้สึกของตัวเองที่ได้เรียนรู้
  • เข้าใจถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ เนื้อหาสำคัญที่ได้รับ
 กิจกรรมกลุ่มการประยุกต์ใช้ในการรับมือภัยพิบัติในชุมชนของตนเอง
  • แบ่งกลุ่มหารือร่วมกันในการระบุภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในชุมชน
  • กำหนดแผนการจัดการภัยพิบัติของชุมชน
  • กำหนดแผนการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่/ชุมชนของตนเองได้

วิทยากรชุมชน

ประยูร จงไกรจักร์

ประยูร จงไกรจักร์ (เล็ก)

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน

  • ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.บางม่วง จ.พังงา
  • ประธานคณะทำงานเครือข่ายภัยพิบัติ จ.พังงา

ประสบการณ์ทำงาน

  • คนมหาดไทยต้นแบบรางวัลดำรงราชานุภาพ กลุ่มอพปร.อบต.บางม่วง
  • สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
  • วิทยากรทีมเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ
    ต.บางม่วง

การศึกษา