หลักสูตรเกาะยาวน้อย สู่ความสุขร่วมของคนในชุมชน

ภาพรวมหลักสูตร

ทรัพยากรทางธรรมชาติรวมทั้งทุนทางสังคมคือหัวใจสำคัญที่ทุกชุมชนจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจวิธีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โจทย์สำคัญคือจะทำอย่างไรให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมระหว่างคนในชุมชนผู้รู้จักพื้นที่และเข้าใจวิถีวัฒนธรรมเป็นอย่างดีกับหน่วยงานต่างๆ ที่ล้วนมีแนวทางการพัฒนาบนฐานความคิดที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกันได้มีโอกาสร่วมมือกันออกแบบ วางแผน และดูแลรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืน

การเรียนรู้วิธีการก้าวข้ามความแตกแยกด้วยแนวคิดการนำร่วมจากกลุ่มคนผู้ลงมือปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงจนเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม จากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมจริง จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสามารถนำเอาประสบการณ์และองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้วางแผนพัฒนาชุมชนของตนเองได้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้เข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนพลเมืองในการพัฒนาเกาะยาวน้อยอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
  2. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้เข้าใจกระบวนการจัดการทรัพยากรในชุมชนท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน
    • การจัดการขยะ
    • การทำเกษตรอินทรีย์
    • การกำหนดพื้นที่ทำประโยชน์
    • การสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากร
  3. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรในชุมชนของตนเอง

เนื้อหาการเรียนรู้

เรื่องเนื้อหาเป้าหมาย
กระบวนการขับเคลื่อนพลเมืองในการพัฒนาเกาะยาวน้อยเรื่องเล่าจากเกาะยาวน้อย
  • ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเกาะยาวน้อย
  • ความขัดแย้งของชุมชนจากทรัพยากร
  • สภาพทั่วไปในปัจจุบัน
  • เข้าใจข้อมูลทั่วไปของเกาะยาวน้อยประวัติศาสตร์ความเป็นมาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
 กระบวนการขับเคลื่อนพลเมือง
  • การพูดคุยทำความเข้าใจความขัดแย้ง
    • ใช้คนกลางที่น่าเชื่อถือเป็นคนจัดกระบวนการ
    • จัดนอกสถานที่
    • เปิดใจรับฟังทั้งสองฝ่าย
    • ถอดหมวกตำแหน่งหน้าที่
    • จัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนา
  • ตั้งคณะที่ปรึกษาชุมชน
    • นำปัญหาที่เกิดขึ้นพิจารณาร่วมกัน
    • หาผู้รับผิดชอบแต่ละเรื่อง
    • ประชุมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
  • เข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนพลเมืองของเกาะยาวน้อยที่เปลี่ยนจากความขัดแย้งเป็นการร่วมมือกันในการแก้ปัญหาและพัฒนา
กระบวนการจัดการทรัพยากรในชุมชนท่องเที่ยวหลักในการจัดการทรัพยากร
  • สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร
  • สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • ผลักดันกฎชุมชนในการควบคุมดูแล
  • เข้าใจหลักในการจัดการทรัพยากรของเกาะยาวน้อยในชุมชนแบบปิดที่มีวัฒนธรรมมุสลิมที่เข็มแข็ง
 
  • ตัวอย่างผลลัพธ์: การจัดการขยะ
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการจัดการขยะ
 
  • ตัวอย่างผลลัพธ์: การทำเกษตรอินทรีย์
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการทำเกษตรอินทรีย์
 
  • ตัวอย่างผลลัพธ์: การกำหนดพื้นที่ทำประโยชน์
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการกำหนดพื้นที่ทำประโยชน์
 
  • ตัวอย่างผลลัพธ์: การสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากร
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากร
การประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรในชุมชนของตนเองถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
  • บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ หลักการสำคัญ
  • ความรู้สึกของตัวเองที่ได้เรียนรู้
  • เข้าใจถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ เนื้อหาสำคัญที่ได้รับ
 กิจกรรมกลุ่มการประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรในชุมชนของตนเอง
  • แบ่งกลุ่มหารือร่วมกันในการจำแนกทรัพยากรในพื้นที่/ชุมชนของตนเอง
  • กำหนดแผนการจัดการทรัพยากรในพื้นที่/ชุมชนของตนเอง
  • กำหนดแผนการจัดการทรัพยากรในพื้นที่/ชุมชนของตนเองได้

วิทยากรชุมชน

banyud Srisamut

บัญญัติ ศรีสมุทร (หรีด)

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน

  • กำนันตำบลเกาะยาวน้อย 
  • ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.เกาะยาวน้อย จ.พังงา

ประสบการณ์ทำงาน

  • ประธานกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไต
    ต.เกาะยาวน้อย
  • ชุมชนประชารัฐสีชมพูยอดเยี่ยมอันดับ 1
  • 1 ใน 10 ชุมชนต้นแบบประชารัฐสีชมพู

การศึกษา

  • รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต