หลักสูตรมอแกลนทับตะวัน เข้าใจพหุวัฒนธรรม สร้างสรรค์พลเมืองโลก

ภาพรวมหลักสูตร

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ความผันผวนทางการเมือง  รวมทั้งกระแสทุนนิยมในยุคโลกาภิวัตน์ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมในฐานะพลเมืองโลกผู้เคารพความแตกต่างหลากหลายของเพื่อนมนุษย์กลายเป็นประเด็นหลักที่ระบบการศึกษาทั่วโลกให้ความสำคัญ  ซึ่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถนำพาผู้เรียนสู่ความเข้าใจประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา สัมผัสคุณค่าของวิถีวัฒนธรรมอย่างละเอียดลึกซึ้งจากแหล่งการเรียนรู้จริง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้เข้าใจประวัติศาสตร์และวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกลนทับตะวัน
  2. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้เข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างสมดุล
    • ทำกินอย่างมอแกลน
    • แหล่งอาหารมอแกลน
    • สมุนไพรมอแกลน
  3. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้ตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์และการอยู่ร่วมกันในฐานะพลเมืองโลก
    • การออกแบบพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม
  4. เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองการออกแบบการดำรงชีวิตในฐานะพลเมืองโลก

เนื้อหาการเรียนรู้

เรื่องเนื้อหาเป้าหมาย
ประวัติศาสตร์และวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกลนเรื่องเล่าชาวมอแกลนทับตะวัน
  • ก่อนตัวตนล่มสลาย
  • การหันหลังกลับที่ทันเวลา
  • สภาพทั่วไปในปัจจุบัน
  • การเรียกร้องและการจัดการจุดเปราะบาง/ผลักดันกลไกสู่การปฏิบัติของชุมชน
  • เข้าใจประวัติความเป้นมาของชุมชนชาวมอแกลนทับตะวัน ปัญหาและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
 เรียนรู้โลกของชาวเล
  • ผูกข้อมือต้อนรับ
  • ประวัติศาสตร์ชาวเล
  • ตัวตนของชาวมอแกลน
  • เข้าใจประวัติศาสตร์ของชาวเล ตัวตนวัฒนธรรมของชาวมอแกลน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างสมดุล
  • ตัวอย่างภูมิปัญญา: ทำกินอย่างมอแกลน
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการทำกินอย่างมอแกลน
 
  • ตัวอย่างภูมิปัญญา: แหล่งอาหารมอแกลน
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการหาแหล่งอาหารมอแกลน
 
  • ตัวอย่างภูมิปัญญา: สมุนไพรมอแกลน
  • เข้าใจขั้นตอนและวิธีการใช้สมุนไพรมอแกลน
ความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์และการอยู่ร่วมกันในฐานะพลเมืองโลกการออกแบบพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม
  • พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม
  • โอกาสจากการรุกรานตัวตน
  • มอแกลนพาเที่ยว
  • เข้าใจวิธีการต่อสู้เรียกร้องเพื่อรักษาพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม
 ตัวตนคนมอแกลน
  • ศาลพ่อตาสามพัน ร่องรอยของบรรพชน
  • เราไม่ต้องการอะไรมากกว่าที่เราเคยเป็น
  • เข้าใจถึงความต้องการและความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกลน
 ถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
  • • บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ หลักการสำคัญ
  • • ความรู้สึกของตัวเองที่ได้เรียนรู้
  • เข้าใจถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ เนื้อหาสำคัญที่ได้รับ
 กิจกรรมกลุ่มการออกแบบชีวิตให้อยู่ร่วมกันอย่างไรในฐานะพลเมืองโลก
  • กำหนดแนวทางการใช้ชีวิตในฐานะของพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
  • แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • กำหนดแนวทางการใช้ชีวิตในฐานะของพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมได้

วิทยากรชุมชน

วิทวัส เทพสง

วิทวัส เทพสง (เก๋)

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน

  • ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวเลอันดามัน
  • ผู้ประสานงานสภาชาติพันธุ์ชาวเล
  • รองประธานสภาชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้
  • คณะกรรมการบูรณาการ การฟื้นฟูลุแก้ไขปัญหา วิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเลจังหวัดพังงา

ประสบการณ์ทำงาน

  • ประธานเครือข่ายกลุ่มเยาวชนพึ่งตนเองจากภัยสึนามิ
  • ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนรักษ์และฟื้นฟูชายฝั่งอันดามัน
  • อาสาสมัครปฏิบัติการชุมชนเครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ

การศึกษา

  • มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านน้ำเค็มจังหวัดพังงา